ข้อมูลสถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษา
ชื่อมหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถานที่ตั้ง : ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ เลขที่ 110 ถนน อินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
รายนามผู้บริหารภาควิชารังสีเทคนิคจากอดีตถึงปัจจุบัน
1. ศ.นพ.สนาน สิมารักษ์ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 28 ธ.ค. 2520 - 30 มิ.ย. 2524 |
2. อ.กนกวรรณ อุโฆษกิจ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 1 ก.ค. 2524 -30 มิ.ย. 2532 |
3. ผศ.ระวีวรรณ โชติเจริญรัตน์ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 1 ก.ค. 2532 -30 มิ.ย. 2536 |
4. อ.พิรุณ ไชยเชียงพิณ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 1 ก.ค. 2536 -30 มิ.ย. 2540 |
5. ผศ.อุทุมมา มัฆะเนมี |
วาระการดำรงตำแหน่ง 1 ก.ค. 2540 - 30 มิ.ย. 2544 |
6. รศ.ระวีวรรณ กัณไพเราะ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 1 ก.ค. 2544 - 30 มิ.ย. 2552 |
7. รศ.อุทุมมา มัฆะเนมี |
วาระการดำรงตำแหน่ง 1 ก.ค. 2552- 30 มิ.ย. 2553 |
8. รศ.ดร.สำรี มั่นเขตต์กรน์ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 25 ก.ย. 2553 - 5 ก.ค. 2555 |
9. รศ.ดร.สุชาติ โกทันย์ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ก.ย. 2555 – 2 ก.ย. 2559 |
10. รศ.ดร.สุชาติ โกทันย์ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ก.ย. 2559 - 2 ก.ย. 2563 |
11. ผศ.ดร.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ |
วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ก.ย. 2563 - 2 ก.ย. 2566 |
12. ผศ.ดร.ณฐุปกรน์ เดชสุภา |
วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ก.ย. 2566 - ปัจจุบัน |
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์รังสีการแพทย์ และด้านคุณธรรมจริยธรรม
ปรัชญา
สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาวิชาชีพที่ต้องกระทำต่อมนุษย์ โดยใช้รังสีหรือสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค การบำบัดโรคหรือการวิจัย
รวมทั้งการป้องกันโรค การส่งเสริมและการพื้นฟูสุขภาพ ด้วยวิธีการทางรังสีวิทยา การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยา โดยมีเนื้อหาที่บูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ด้วยศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพ
พันธกิจ
-
พัฒนาภาควิชารังสีเทคนิค ให้เป็นสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์รังสีการแพทย์ชั้นนำ ที่มีมาตรฐานคุณภาพทางวิชาการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
-
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพ มีคุณลักษณะของบัณฑิตพึงประสงค์ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ มีความรับผิดชอบและนำความรู้สู่สังคมระดับชาติและนานาชาติ
-
พัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยในระดับชาติและหรือนานาชาติ
-
สร้างระบบงานวิจัยทางวิทยาศสตร์ชีวการแพทย์และการวิจัยเชิงบูรณาการที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพ
-
พัฒนาภาควิชารังสีเทคนิค ให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สร้างบุคลากรที่มีคุณธรรมควบคู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ สร้างความผูกพันของบุคลากร ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
-
พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการบริหารทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส่งเสริมการบริหารงานโดยบุคลากร
มีส่วนร่วมและการบริหารเชิงรุก
-
พัฒนางานบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบนฐานความต้องการของชุมชน
-
สร้างเสริมโอกาสในการศึกษาหรือเพิ่มพูนวิชาการให้แก่ผู้ปฎิบัติงานทางวิชาชีพ ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนโดยทั่วไป
-
พัฒนาความสัมพันธ์และนำศักยภาพของศิษย์เก่ามาร่วมพัฒนาภาควิชา
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรสาขาวิชารังสีเทคนิค มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ อันประกอบด้วย
-
มีความรอบรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และศาสตร์ทางคลินิก ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพรังสี เทคนิค สามารถประยุกต์องค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการปฏิบัติงานในวิชาชีพและ
การศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
-
ตระหนักในบทบาทและมีความรับผิดชอบทั้งบริบททางวิชาการ วิชาชีพและชุมชน
-
สามารถปฏิบัติงานในศาสตร์ต่างๆ ทางรังสีเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ กฎระเบียบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่กำหนดไว้ในสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ
-
มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความเอื้ออาทร มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็น
ทีมกับสหวิชาชีพ
-
มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์ ลักษณะและระดับความรุนแรงของปัญหาและจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
-
มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารและใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศและศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงสามารถใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี
-
มีทักษะการวิจัย การใช้เหตุผลและการแก้ปัญหา ในการตัดสินใจและการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
-
สามารถใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และใช้สถิติได้อย่างเหมาะสมในวิชาชีพ
การเรียนการสอน
-
ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหลักสูตรเปิดสอน 3 หลักสูตร
-
ปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค จำนวนรับนักศึกษาปีละ 70 คน
-
ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์รังสีการแพทย์ จำนวนรับนักศึกษาปีละ 5-10 คน
-
ปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ปีละ 3-5 คน